วัตณธรรมประเพณีของจังหวัดน่าน

อ่าน 133 | ตอบ 0
วัตณธรรมประเพณีของจังหวัดน่าน 1.ประเพณีตานก๋วยสลาก เป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลได้มีการปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงรุ่นคุณปู่-ย่า/ตา-ยาย/พ่อ-แม่ และลูกหลานในปัจจุบัน เรื่องมีอยู่ว่ามีนางยักษิณีตนหนึ่งมักจะเบียดเบียน ผู้คนอยู่เสมอ ครั้นได้ฟังธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว นางก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธานิสัยใจคอที่โหดร้ายก็กลับเป็นผู้เอื้ออารีแก่คนทั่วไปจนผู้คนต่างพากันซาบซึ้งในมิตรไมตรีของนางยักษิณีตนนั้น ถึงกับนำสิ่งของมาแบ่งปันให้ แต่เนื่องจากสิ่งของที่ได้รับมีจำนวนมาก นางยักษิณีจึงนำสิ่งของเหล่านั้นมาทำเป็นสลากภัต แล้วให้พระสงฆ์/สามเณร จับสลากด้วยหลักอุปโลกนกรรม คือสิ่งของที่ถวาย มีทั้งของของมีราคามากและมีราคาน้อยแตกต่างกันไป ตามแต่โชคของผู้ได้รับ การถวายแบบจับสลากของนางยักษิณีจึงนับเป็นครั้งแรกของประเพณีทำบุญสลากภัตในพุทธศาสนา 2.ประเพณีการแข่งเรือยาวของเมืองน่าน เป็นประเพณีที่เก่าแก่สืบเนื่องกันมาแต่โบราณกาล การจัดแข่งจะจัดกันเองในหน้าน้ำ ในเทศกาลตานก๋วยสลาก (สลากภัต)แต่ละวัดก็จะนำเรือของตนเข้าแข่งเพื่อเปนการสมานสามัคคีกัน เอกลักษณ์ของเรือเมืองน่าน ไม่เหมือนจังหวัดใดในประเทศไทยคือ เป็นเรือที่ขุดจากไม้ตะเคียนหรือตะเคียนทองทั้งต้น โดยเชื่อกันว่า มีความทนทานและผีนางไม้แรง ก่อนจะถึงเวลาแข่งเรือ เรือแข่งแต่ละลำจะแล่นเลาะขึ้นล่องอยู่กลางลำน้ำเพื่ออวดฝีพายและความสวยงามใหประชาชนได้เห็นเสียก่อน ในเรือแข่งจะมีฆ้อง กลอง ฉิ่ง ฉาบ ตีกันเป็นจังหวะดังไปทั่วท้องน้ำน่าน เป็นที่สนุกสนานและน่าดูยิ่งนัก สถานที่สำหรับทำการแข่งขันเรือ ก็ใช้ลำน้ำน่าน หน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดน่านเป็นสนามแข่งขันปัจจุบัน การแข่งเืรือเมืองน่าน ได้กลายมาเป็นวัฒนธรรมบ่งบอกถึงประเพณีของท้องถิ่น ความสามัคคี ศิลปะ สุขภาพอนามัยของชาวบ้าน หากหมู่บ้านใด มีชาวบ้านร่างกายแข็งแรง เรือของหมู่บ้านนั้นก็มักจะชนะ หากหมู่บ้านใดมีผู้มีความคิดสร้างสรรค์ มีศิลปะ เรือของหมู่บ้านนั้นก็จะชนะประเภทสวยงามเช่นกัน การแข่งขันไม่ได้เน้นหนักในด้านการแพ้หรือชนะ แต่เน้นด้านความสนุกสนานและความสามัคคีเป็นหลัก เมื่อมีการแข่งขันกันอย่าง กว้างขวางหลายสนามแข่งขันซึ่งประพฤติปฏิบัติเป็นประจำทุกปีมาโดยตลอด จึงทำให้พฤติกรรมเหล่านี้กลายมาเป็นประเพณีการแข่งขันเรือของจังหวัดน่านในปัจจุบัน เพราะตราบจนกระทั่งวันนี้ คนเมืองน่า่นทุกคน นับแต่ลูกเด็กเล็กแดง จนกระทั่งหนุ่มสาว แก่ชรา ต่างก็ทราบกันดีแล้วว่า ในการแข่งเรือ ใครจะเป็นผู้แพ้หรือผู้ชนะไม่สำคัญ เพราะผู้ชนะที่แท้จริง ของงานนี้ก็คือ ชาวเมืองน่านนั่นเอง ที่สามารถสืบทอดงานประเพณีอันสวยงามและยิ่งใหญ่ของตนไว้ได้เป็นอย่างดีนั่นเอง 3.ประเพณีงานเทศกาลส้มสีทองและงานกาชาดจังหวัดน่าน จัดขึ้นในเดือนธันวาคมของทุกปี บางปีอาจจัดร่วมกับเทศกาลของดีเมืองน่าน ส้มสีทองเป็นผลผลิตทางการเกษตร ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดน่าน พันธุ์เดียวกับส้มเขียวหวาน แต่ส้มสีทองจะมีเปลือกสีเหลืองทองสวยงาม และรสชาติหวานหอมอร่อยกว่า เป็นเพราะอิทธิ พลของดินฟ้าอากาศคือ อุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนต่างกัน ๘ องศา เป็นเหตุให้สาร “คาร์ทีนอยพิคเมนท์” ในเปลือกส้มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีทองดังกล่าว กิจกรรมในงานที่น่าสนใจมีหลายอย่าง ได้แก่ การประกวดขบวนรถส้มสีทอง การออกร้านนิทรรศการ การจำ -หน่ายสินค้าหัตถกรรมจากอำเภอต่าง ๆ และจากเมืองฮ่อน-หงสา สปป.ลาว การแสดงพื้นเมืองและมหรสพต่าง ๆ อีกมากมาย 4.ประเพณีจิบอกไฟ (จุดบ้องไฟ) การจุดบอกไฟ หรือ บ้องไฟ จะจุดเพื่อเป็นพุทธบูชาถวายกับพระธาตุ วัดที่สำคัญและช่วงเทศกาลปีใหม่เมือง และจุดเพื่อชิงรางวัลตามความสามารถของคนทำบอกไฟในการจุดบอกไฟ หรือ บ้องไฟ เมืองน่านมีอยู่ 2 แบบคือจุดเพื่อความสวยงาม เรยกว่า บอกไฟดอกหรือบอกไฟขวี่ จุดเฉพาะตอนกลางคืนเท่านั้น เพื่อแสงอันสวยงาม บอกไฟขึ้น จะจุดในที่โล่งแจ้ง ไม่เป็นอันตรายกับผู้ชม ก่อนจะนำไปจุดจะต้องแจ้งต่อคณะกรรมการเพื่อเอาลำดับที่จะจุดและมีชื่อเรียกว่า "วาร" พร้อมมีขบวนแห่บอกไฟและคำฮ่ำบอกไฟและพรรณาถึงความเป็นเลิศของบอกไฟ ของคณะศรัทธาบ้านตัวเองและสล่า (ช่าง) ผู้เป็นคนทำบอกไฟ แต่ถ้าหากบอกไฟไม่ขึ้น เช่น เกิดแตกหรือไม่ยอมพุ่งขึ้น สล่าคนนั้นโดนทั้งผงหมิ่นหม้อ ผงถ่านสีดำก้นหม้อแกงหรือขี้เปอะ (โคลน) จากกลางทุ่งนาละเลงไปที่ใบหน้าเรียกว่า "ลุบหมิ่น" 5.ประเพณีดาปอยงานบวช เมืองน่าน เป็นเมืองพุทธศาสนา ผู้คนมีความศรัทธาและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาอย่างช้านานพร้อมส่งเสริมสนับสนุนถือเป็นธรรมเนียมว่าชายใด หรือกุลบุตรจะต้องได้บวชเรียนเพื่อซาบซื้งรสพระธรรม และตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ ต้องการบวชเรียนในบวรพระพุทธศาสนามักนิยมบวชกันเป็นละแวกหมู่บ้าน คือบวชวันเดียวกันทีละหลายๆ รูป เรียกว่า "ดาปอย" คือจะทำกันที่วัดก็ได้หรือจะจัดเตรียมบ้านของใคร หรือผู้ที่อุมภัมภ์ในการบวชเรียน เรียกว่า "พ่อออก แม่ออก" งานบวชเมืองน่านมี 2 อย่างคือ 1.ลูกแก้ว คือ การบรรพชา ไม่นิยมทำกันอย่างเอิกเกริก ทำกันในเฉพาะญาติพี่น้อง เีรียกว่า "ปอยหมก" กล่าวคือโกนหัวเข้าวัด 2.เป๊ก คือการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ มีการจัดเตรียมงานและผู้ที่จะบวชจะต้องท่องฝึกคำของบรรพชาอุปสมบทให้คล่องแคล่วชัดเจน ญาติพี่น้องต้องจัดเตรียมสิ่งของข้าวปลาอาหารไว้ต้อนรับแขกญาติมิตรก่อนที่จะมีงานบวช ญาติ ๆ หรือผู้คุ้นเคยจะนำพานใส่ผ้าไตร พร้อมดอกไม้ธูปเทียนไปบอกญาติสนิทและเพื่อนบ้านให้รับรู้ ซึ่งเรียกวิธีการนี้ว่า "การไปแผ่ผ้าหน้าบุญ" ถ้าหากผู้ที่ไปร่วมงานไม่ได้ไปในวันงานก็จะร่วมทำบุญไปด้วยกับการที่ไปแผ่ผ้าหน้าบุญแล้วอธิษฐานยกมือขึ้นไว้บนศีรษะคือการ "เจาะใส่หัว" ระเพณีดาปอยจะมีอยู่ด้วยกัน 2-3 วัน คือ วันแรกเรียกว่า "วันฮอมครัว" หรือ สีเทียน วันลองหม้อขนมปาด พออีกวันก็คือ "วันห้างดา" มีการโกนผมนาค ญาติมิตรมาร่วมทำบุญพระนาคจะให้พรกับแขกหรือผู้มาร่วมงาน มีการเตรียมจัดของถวายพระ การประดิษฐ์เครื่องบูชาพระพุทธ เช่น ต้นดอก ไทยาน งานปอยมีการเตรียมบายศรีสู่ขวัญนาคเพื่อขัดเกลาให้ผู้บวชทราบพระคุณบิดามารดาผู้ให้กำเนิดและสั่งสอนในการปฏิบัติวัตรของการเข้าไปเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา วันบวชหรือวันประกอบพิธีบรรพชาอุปสมบท จะกำหนดเมื่อไหร่ก็ได้ คือ ตอนเช้าตรู่ หรือ เวลา 10.00น.ก็ได้ หรือเวลาบ่าย เย็นได้หมดแล้วแต่จะกำหนด โดยญาติิมิตรอยู่ร่วมงานเพื่อแห่ลูกแ้วหรือแห่นาคเข้าวัดเพื่อประกอบพิธี ขอบคุณข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/anongnartjan/home/5-prapheni-wathnthrrm-kickrrm-khxng-canghwad-nan
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :